เมนู

3.มหาเวทัลลสูตร


[483] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
" สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับที่พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะ
ออกจากที่เร้นในเวลาบ่ายแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่พัก แล้วก็ชื่น
ชมกับท่านพระสารีบุตร เมื่อเสร็จถ้อยคำที่ทำให้เกิดความชื่นชม เป็นที่ตั้ง
แห่งความระลึกนึกถึงกันแล้ว ก็นั่งลงในควรส่วนหนึ่ง."
[494] เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิกะ นั่งลงในที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว
ก็ได้พูดกับท่านพระสารีบุตรอย่างนี้ว่า " ท่าน คำที่เขาเรียกกันว่า " คนมี
ปัญญาชั่วๆ " (นั้น) ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอท่าน เขาจึงเรียกว่า
" คนมีปัญญาชั่ว "
สา. " ที่เขาเรียกว่า คนมีปัญญาชั่ว (คนโง่) ก็เพราะเขาไม่รู้ชัดไม่
เข้าใจแจ่มแจ้งนั่นแหละคุณ ก็เขาไม่รู้ชัดอะไรเล่า ? เขาไม่รู้ชัดว่า " นี้ทุกข์ "
" นี้เหตุให้เกิดทุกข์ขึ้น ". ไม่รู้ชัดว่า " นี้ความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ ",
ไม่รู้ชัดว่า " นี้ข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ ", ที่เรียกว่า
" คนโง่." ก็เพราะเขาไม่รู้ชัด ไม่เข้าใจ(อริยสัจ) นี่แหละคุณ "
" ดีมาก ครับท่าน " ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ชื่นชมอนุโมทนาภาษิต
ของท่านพระสารีบุตร แล้วก็ถามปัญหากับท่านพระสารีบุตรให้ยิ่งขึ้น
ไปว่า " ท่านครับ คำที่เขาว่า คนมีปัญญาๆ (นั้น) ด้วยเหตุมีประมาณเพียง
ไรหนอท่าน เขาจึงเรียกว่า " คนมีปัญญา "

สา. "คุณ ! ที่เขาเรียกว่า "คนมีปัญญา" ก็เพราะ "เขาเข้าใจชัดเข้าใจ
แจ่มแจ้ง" นั่นแหละ. เข้าใจแจ่มแจ้งอะไรเล่า เข้าใจแจ่มแจ้งว่า "นี้ทุกข์",
เข้าใจแจ่มแจ้งว่า "นี้เหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น" เข้าใจแจ่มแจ้งว่า "นี้ความดับทุกข์
ได้โดยไม่เหลือ". ที่เรียกว่า "คนมีปัญญา" ก็เพราะเข้าใจชัด เข้าใจแจ่ม
แจ้ง (อริยสัจ) นี่แหละคุณ"

โก. "ท่านครับ ที่เขาเรียกว่า "วิญญาณๆ (ความรู้แจ้ง)"(นั้น),
เขาเรียกว่า "วิญญาณ" ด้วยเหตุมีประมาณเพียงไรหนอ ท่าน ?"

สา. "คุณ ! ที่เรียกว่า"วิญญาณ" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมรู้
แจ่ม ย่อมรู้แจ้ง นั่นแหละ. รู้แจ้งอะไรเล่า ย่อมรู้แจ้งว่า "สุข" บ้าง ย่อมรู้
แจ้งว่า "ทุกข์" บ้าง, ย่อมรู้แจ้งว่า "ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข*"บ้าง. ที่เรียกว่า
"วิญญาณ" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ ย่อมรู้แจ้ง ดังนี้แหละคุณ!"

โก. "เอ๊ะ ท่านครับ ธรรมคือปัญญาความรู้ชัดและวิญญาณความรู้
แจ้งเหล่านี้ มันคละกัน หรือมันแยกกัน และก็ เราจะแยกแยะธรรมเหล่า
นี้แล้วบัญญัติให้แตกต่างกันได้ไหม"

สา. "คุณ ธรรมคือปัญญาความรู้ชัดและวิญญาณความรู้แจ้งเหล่านี้
มันคละกันแยกกันไม่ได้ และเราจะแยกแยะธรรมเหล่านี้แล้วบัญญัติให้แตก
ต่างกันก็ไม่ได้ด้วย. คุณ เพราะอันใดเป็นความรู้ชัด. อันนั้นเป็นความรู้แจ้ง
อันใดเป็นความรู้แจ้ง อันนั้นเป็นความรู้ชัด, ฉะนั้น ธรรมเหล่านี้จึงคละกัน
แยกจากกันไม่ออก และเราจะแยกแยะแล้วบัญญัติให้แตกต่างกันก็ไม่ได้ด้วย"

1. เคยเห็นมา วิญญาณ คือ จักขุวิญญาณ เป็นต้น, ในที่นี้รู้แจ้งเวทนา น่าคิด.

โก. "อ้าวท่านครับ เมื่อธรรมคือปัญญาและวิญญาณเหล่านี้
มันคละกัน แยกจากกันไม่ออก แล้วอะไรล่ะ ที่ทำให้แตกต่างกัน"
สา. "คุณ เมื่อธรรมคือปัญญาและวิญญาณเหล่านี้ มันคละ
กัน แยกจากกันไม่ได้. ปัญญาอันบุคคลต้องอบรม วิญญาณอันบุคคล
ต้องกำหนดรู้ นี้ เหตุที่ทำให้แตกต่างกันของธรรมเหล่านั้น."

[495] "ท่านครับ ที่เรียกว่า เวทนา เวทนา (ความรู้สึกๆ)"
(นั้น) ด้วยเหตุมีประมาณเพียงไรหนอ ท่าน เขาจึงเรียกว่า เวทนา?"
สา. "ที่เขาเรียกว่า "เวทนา" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมเสวย
ย่อมรู้สึกนั่นแหละ. ณ รู้สึกอะไรเล่า? รู้สึกสุขบ้าง รู้สึกทุกข์บ้าง รู้สึกไม่
ทุกข์ไม่สุขบ้าง. ที่เรียกว่า "เวทนา" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมเสวย
ย่อมรู้สึกนั่นแหละคุณ.
โก. "ที่เรียกกันว่า "สัญญาๆ (ความจำได้หมายรู้)" ล่ะครับท่าน
เขาเรียกว่า "สัญญา" กันด้วยเหตุมีประมาณเพียงไร ครับ"
สา. "ที่เรียกกันว่า "สัญญา" (นั้น) นะคุณ ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่
ย่อมจำได้ย่อมหมายรู้ จำได้หมายรู้อะไรเล่า? ย่อมจำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง ..
สีเหลืองบ้าง... แดงบ้าง...สีขาวบ้าง. ที่เรียกว่า "สัญญา" ก็เพราะเป็น
ธรรมชาติที่ย่อมจำได้ ย่อมหมายรู้นั่นแหละคุณ"
โก. "ท่านครับ ธรรมคือ เวทนา สัญญา และวิญญาณ เหล่านี้
มันคละกัน หรือแยกออกจากกัน และเราพอจะแยกแยะธรรมเหล่านี้แล้ว
บัญญัติให้แตกต่างกันได้ไหม"
สา. "คุณ ธรรมคือ เวทนา สัญญาและวิญญาณเหล่านี้ มันคละ
กัน แยกจากกันไม่ออก และเราจะแยกแยะธรรมเหล่านี้แล้วบัญญัติให้แตก

ต่างกันก็ไม่ได้ด้วย. คุณ เพราะเวทนารู้สึกสิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น. ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้จึงเกี่ยวข้อง
กัน แยกกันไม่ออก และเราจะแยกแยะธรรมเหล่านี้แล้วบัญญัติให้แตก
ต่างออกไป ก็ไม่ได้ด้วย."
[496] โก. "ท่านครับ ก็มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทาง
ใจ) ที่สละหมดจดแล้วด้วยอินทรีย์ห้า พึงนำอะไรมา ?"
สา. "คุณ มโนวิญญาณที่สละหมดจดแล้วด้วยอินทรีย์ห้า พึงนำ
อากาสานัญจายตนะที่บริกรรมว่า "อากาศไม่มีที่สุด" มา, นำวิญญาณัญ-
จายตนะที่บริกรรมว่า "วิญญาณไม่มีที่สุด" มา, นำอากิญจัญญายตนะที่
บริกรรมว่า "อะไรๆ ก็ไม่มี (หรือ น้อยหนึ่ง ก็ไม่มี) มา."
โก. "ท่านครับ ก็บุคคลจะทราบไนยธรรม (สิ่งที่ถูกนำมา-ไป)
ได้ด้วยอะไร"
สา. "ทราบไนยธรรมได้ด้วยปัญญาจักษุ (ตาคือปัญญา) ซิคุณ"
โก. "ปัญญา (มี) เพื่อประโยชน์อะไรล่ะท่าน"
สา. "ปัญญาที่แล มีเพื่อประโยชน์แก่การรู้ยิ่ง เพื่อประโยชน์แก่การ
รู้รอบ (กำหนดรู้) เพื่อประโยชน์แก่การละซิคุณ"
[497] โก. "ก็แลปัจจัยเพื่อจะทำให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง (สัมมา
ทิฏฐิ) ขึ้นมีเท่าไรล่ะครับ"
สา. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเห็นที่ถูกต้องขึ้นมี 2 อย่างแหละคุณ
คือ เสียง(ก้อง)จากคนอื่น และการเอาใจใส่อย่างมีเหตุผลเหล่านี้แลคุณ
คือปัจจัย 2 อย่างที่ทำให้เกิดความเห็นที่ถูกต้องขึ้น"

โก. "ด้วยองค์เท่าไรล่ะครับท่าน ความเห็นที่ถูกต้องที่ประดับประ-
คองแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติ (หลุดพ้นด้วยใจ) เป็นผลและมีเจโตวิมุตติเป็นผลา-
นิสงส์, มีปัญญาวิมุตติ (หลุดพ้นด้วยปัญญา) เป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็น
ผลานิสงส์"
สา. "ก็ด้วยองค์ห้านี่แลคุณ ความเห็นที่ถูกต้องที่บุคคลประดับประ-
คองแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผลและมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์, มีปัญญา-
วิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์. คุณ ในองค์ทั้งห้าคือ ความ
เห็นที่ถูกต้องอันศีลประดับประคองไว้ 1 อันสุตะ (การฟัง, ศึกษาเล่า
เรียน) ประคับประคองไว้ 1 อันสากัจฉา (คุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน) ประคับ
ประคองไว้ 1 อันสมถะ (อุบายเครื่องเรื่องปัญญา) ประคับประคองไว้ 1.
คุณ ก็แลความเห็นที่ถูกต้องซึ่งองค์ทั้งห้าเหล่านี้แลประดับประคองแล้ว
ย่อมมีผลเป็นเจโตวิมุตติ และย่อมมีผลานิสงส์เป็นเจโตวิมุตติ ย่อมมีผลเป็น
ปัญญาวิมุตติ และย่อมมีผลานิสงส์เป็นปัญญาวิมุตติ."

[498] โก. "ภพมีเท่าไรครับท่าน"
สา. "ภพมี 3 อย่างซิคุณ. เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพและอรูปภพ."
โก. "การเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป จะมีได้อย่างไร ครับท่าน?"
สา. "สำหรับพวกสัตว์ที่ยังมีความไม่รู้กางกั้น มีความทะยานอยาก
ผูกไว้ ก็ยังมีความเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ นะคุณเอ๋ย. แบบนี้ก็ยังมีการ
เกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปอีก."
โก. "ทำอย่างไรครับท่าน. จึงจะไม่มีการเกิดภพใหม่ขึ้นมาอีกต่อไป."
สา. "เพราะสำรอกความไม่รู้ทำความรู้ให้เกิดขึ้น ดับความทะยาน
อยากได้โดยไม่เหลือ แบบนี้ซิคุณ จึงจะไม่มีการเกิดภพใหม่ขึ้นมาอีกต่อไป."

[499] "ท่านครับ ก็ฌานที่ 1 เป็นไฉน"
สา. "คุณ ภิกษุในพระศาสนานี้ เพราะสงัดจากกามทั้งหลาย
ได้จริงๆ เพราะสงัดจากเรื่องอกุศลทั้งหลาย จึงเข้าถึงฌานที่ 1 ที่ยังมีความ
ตรึก ยังมีความตรอง มีความอิ่มเอิบและความสบายที่เกิดจากความสงัดแล้ว
แลอยู่. นี้คุณ เรียกว่าฌานที่ 1"
โก. "ฌานที่ 1 มีองค์เท่าไรครับท่าน ?"
สา. "ฌานที่ 1 แลมีองค์ห้าซิคุณ คือ คุณในกรณีนี้ ความตรึก
1 ความตรอง 1 ความอิ่มเอิบ 1 ความสบาย 1 ความที่จิตมีอารมณ์อย่าง
เดียว 1 ย่อมเป็นไปแก่ภิกษุผู้เข้าฌานที่ 1 ซึ่งมีองค์ 5 คุณ ฌานที่ 1 แล
มีองค์ 5 อย่างนี้.
โก. "ก็ฌานที่ 1 ละองค์เท่าไร? ประกอบด้วยองค์เท่าไรครับท่าน"
สา. "คุณ ฌานที่ 1 แล ละองค์ 5 ประกอบด้วยองค์ 5 คือ คุณ
ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุเข้าสู่ฌานที่ 1 ความพอใจในกาม ก็เป็นอันละได้ ความ
คิดปองร้ายก็เป็นอันละได้, ความง่วงเหงาหาวนอน (ความท้อใจและความ
ท้อ (นาม) กาย) ก็เป็นละได้, ความฟุ้งซ่านและรำคาญก็เป็นละได้, ความสง-
สัยก็เป็นละได้. ความตรึก 1 ความตรอง 1 ความเอิบอิ่ม 1 ความสบาย
1 ความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว 1. คุณ ฌานที่ 1 นี่แล ละองค์ 5 ประกอบ
ด้วยองค์ 5 อย่างนี้."

[500] โก. "ท่านครับ เหล่านี้คืออินทรีย์ห้า ที่มีวิสัย (อารมณ์)
ต่างกันคือ มีโคจร (อารมณ์สำหรับเที่ยวไป) ต่างกัน ไม่เสวยโคจรวิสัย
(อารมณ์) ของกันและกัน คือ อินทรีย์คือตา อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก
อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย. ท่านครับ อะไรเป็นที่พึ่งอาศัย ของอินทรีย์

ทั้งห้าเหล่านี้แล ซึ่งมีวิสัยต่างกัน คือมีโคจรต่างกัน ไม่เสวยโคจรวิสัยของกัน
และกัน และอะไร เสวยเฉพาะโคจรวิสัยของอินทรีย์เหล่านั้น"
สา. "คุณ อินทรีย์ห้าเหล่านี้ ที่มีวิสัยต่างกัน คือมีโคจรต่างกัน ไม่
เสวยเฉพาะโคจรวิสัยของกันและกันคือ อินทรีย์คือตา...หู...จมูก...ลิ้น...
กาย. คุณ อะไร เป็นที่พึ่งอาศัยของอินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้แล ซึ่งมีวิสัยต่าง
กัน คือมีโคจรต่างกัน ใช้ทำหน้าที่รับอารมณ์แทนกันไม่ได้. และใจใช้ทำหน้า
ที่รับอารมณ์แทนอินทรีย์เหล่านั้นได้ (คือใจคิดถึงรูปเป็นต้นได้)."

[501] โก. "ท่านครับ อินทรีย์ห้าเหล่านี้คือ อินทรีย์คือ ตา...หู...
จมูก...ลิ้น...กาย. คุณ อินทรีย์ห้าเหล่านี้แลอาศัยอายุตั้งอยู่ได้."
โก. "ก็อายุอาศัยอะไรจึงตั้งอยู่ได้ครับท่าน"
สา. "อายุอาศัยไออุ่น (เตโชธาตุ) จึงตั้งอยู่ได้ (คุณ)"
โก. "ก็ไออุ่นอาศัยอะไรจึงตั้งอยู่ได้ ครับท่าน"
สา. "ไออุ่นก็อาศัยอายุจึงตั้งอยู่ได้ (คุณ)"
โก. "พวกเราเพิ่งรู้ภาษิตของท่านพระสารีบุตรเดี๋ยวนี้เอง อย่างนี้
ว่า "อายุอาศัยไออุ่น ตั้งอยู่". พวกเราเพิ่งรู้ภาษิตของท่านพระสารีบุตรเมื่อกี้
นี้เองอย่างนี้ว่า "ไออุ่นก็อาศัยอายุตั้งอยู่". ท่านครับ พวกเราจะพึงทราบใจ
ความของคำที่ท่านกล่าวนี้ได้อย่างไร"

สา. "คุณ ถ้าอย่างนั้น ผมจะทำการเปรียบเทียบให้คุณ(ฟัง). รู้บาง
ท่าน ในโลกนี้ย่อมเข้าใจเนื้อความของคำที่กล่าวแล้ว ด้วยการเปรียบเทียบก็
มี คืออายุย่อมอาศัยไออุ่นตั้งอยู่ (และ) ไออุ่นก็อาศัยอายุตั้งอยู่เหมือนตะเกียง
น้ำมันที่กำลังไหม้ แสงย่อมอาศัยเปลวไฟจึงปรากฏ (และ) เปลวไฟก็ย่อม
อาศัยแสงจึงจะปรากฏ ฉันใด ก็ฉันนั้นนั่นแล.

โก. "ท่านครับ อายุสังขาร ก็อันนั้นแหละ สิ่งที่จะพึงรู้ก็อันนั้นหรือ
หนอ? หรือว่า อายุสังขาร เป็นอันอื่น สิ่งที่จะพึงรู้ก็เป็นอันอื่น?"
สา. "หามิได้เลยคุณ ที่อายุสังขาร ก็อันนั้นแหละ สิ่งที่จะพึงรู้ก็เป็น
อันนั้น, คุณ ถ้าอายุสังขารจะได้เป็นอันนั้น, สิ่งที่จะพึงรู้ก็จะได้เป็นอัน
นั้น, การออกของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนี้ ก็จะพึงปรากฏไม่ได้ แต่
เพราะอายุสังขารก็เป็นอันอื่น สิ่งที่จะพึงรู้ก็เป็นอันอื่น, ฉะนั้น การออกของ
ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ (ดับสัญญาและเวทนา=ดับจิตใจ) จึงปรากฏ."
[502] โก. "ท่านครับ เมื่อไรหนอ สิ่งกี่อย่างจึงจะละร่างนี้
ไป แล้วก็ตอนนั้น ร่างนี้ ก็ถูกทิ้ง ถูกวางลง นอนเหมือนกับท่อนไม้ที่ไร้จิต
ใจหรือ"
สา. "คุณ เมื่อใดแล สิ่งสามอย่างคืออายุ ไออุ่น และวิญญาณ ละร่าง
นี้ไป, เมื่อนั้นร่างนี้ก็ถูกทิ้งถูกวางลง นอนเหมือนกับท่อนไม้ที่ไร้จิตใจ.
โก. "อะไรที่เป็นเครื่องทำให้แตกต่างกันระหว่างคนที่ตาย ผู้ทำกาละ
แล้ว กับผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เหล่านี้ครับท่าน"
สา. "คุณ สำหรับผู้ที่ตายทำกาละแล้วนี้นั้น เครื่องปรุงกาย (ลมหาย
ใจเข้าออก) ดับ สงบไปแล้ว, เครื่องปรุงจิต (ความรู้สึก ความจำได้)
ดับ สงบไปแล้ว, อายุก็หมดสิ้นแล้ว, ไออุ่นก็ระงับไปแล้ว, อินทรีย์ทั้ง
หลาย ก็พังทะลายแล้ว, และสำหรับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เครื่อง
ปรุงกายก็ดับสงบไปแล้ว, เครื่องปรุงวาจาก็ดับสงบไปแล้ว, เครื่องปรุง
จิต ก็ดับสงบไปแล้ว; (แต่) อายุยังไม่หมดสิ้น, ไออุ่นก็ยังไม่ระงับ, อินทรีย์ทั้ง
หลาย กลับผ่องใสเป็นพิเศษ, นี้คือข้อที่ทำให้แตกต่างกันระหว่างผู้ที่ตายทำ
กาละแล้วกับผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธเหล่านั้น."

[503] โก. "ก็แลปัจจัยแห่งการเข้าถึงเจโตวิมุตติที่ไม่ใช่ทุกข์และไม่
ใช่สุขมีเท่าไร ครับท่าน?"
สา. "มีสี่อย่างแหละคุณ ปัจจัยแห่งการเข้าถึงเจโตวิมุตติ ที่ไม่ใช่ทุกข์
และไม่ใช่สุข. คือ ภิกษุในพระศาสนานี้ คุณ เพราะละสุข และละทุกข์
ได้ เพราะความดีใจและความเสียใจดับไปได้ก่อน, เข้าถึงฌานที่สี่ที่ไม่ใช่ทั้ง
ทุกข์ทั้งสุข มีความรู้สึกเฉยๆ เพราะมีสติหมดจดแล้วแลอยู่. นี้แล คุณ ปัจจัยสี่
อย่างแห่งการเข้าถึงเจโตวิมุตติที่ไม่ใช่ทั้งทุกข์ทั้งสุข."
โก. "ก็แลปัจจัยแห่งการเข้าถึงเจโตวิมุตติชนิดหาเครื่องหมายไม่
ได้ มีเท่าไร ครับท่าน"
สา. "สำหรับปัจจัยแห่งการเข้าถึงเจโตวิมุตติชนิดไม่มีเครื่อง
หมาย มีสองอย่างได้แก่ ความไม่สนใจเครื่องหมายทุกอย่างและความสนใจ
ธาตุที่ไม่มีเครื่องหมาย. นี้แลคุณ ปัจจัยสองอย่างแห่งการเข้าถึงเจโต-
วิมุตติชนิดไม่มีเครื่องหมาย.
โก. "สำหรับปัจจัยแห่งการดำรงอยู่แห่งเจโตวิมุตติที่ไม่มีเครื่อง
หมาย มีเท่าไร ครับท่าน"
สา. "มีสามอย่างซิคุณ ปัจจัยแห่งการดำรงอยู่แห่งเจโตวิมุตติที่ไม่มี
เครื่องหมาย คือ ความไม่สนใจเครื่องหมายทุกอย่าง ความสนใจธาตุที่ไม่มี
เครื่องหมาย และการตระเตรียมไว้ล่วงหน้านี้แล คุณ ปัจจัยสามอย่างแห่ง
การดำรงอยู่แห่งเจโตวิมุตติที่ไม่มีเครื่องหมาย."
โก. "ก็แหละปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติที่ไม่มีเครื่อง
หมาย มีกี่อย่างครับท่าน"

สา. "ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติที่ไม่มีเครื่องหมายมีสอง
อย่าง คุณ คือ ความสนใจเครื่องหมายทุกอย่าง และความไม่สนใจธาตุที่ไม่มี
เครื่องหมาย. นี้แล คุณ ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติที่ไม่มีเครื่องหมาย
สองอย่าง"

[504] โก. "ท่านครับ สิ่งที่เป็นเจโตวิมุตติ ที่ไม่จำกัดขอบ
เขต, ที่เป็นเจโตวิมุตติที่เกิดจากบริกรรมว่าอะไรน้อยหนึ่งก็ไม่มี, ที่เป็นเจโต-
วิมุตติชนิดที่มีแต่ความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ และที่เป็นเจโตวิมุตติชนิดที่ไม่มี
อะไรเป็นเครื่องหมายเหล่านี้ ใจความก็ต่างกันและพยัญชนะก็ต่างกันหรือ
ใจความเป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น"

สา. "คุณ เจโตวิมุตติที่ไม่จำกัดขอบเขต อันใด, เจโตวิมุตติที่เกิดจาก
บริกรรมว่าอะไรน้อยหนึ่งก็ไม่มีอันใด, เจโตวิมุตติที่มีแต่ความว่างเปล่าเป็น
อารมณ์อันใด และเจโตวิมุตติชนิดที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายอันใด,
คุณ แบบที่เมื่ออาศัยแล้วสิ่งเหล่านี้มีใจความต่างกัน และมีพยัญชนะต่าง
กัน ก็มี, และแบบที่เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้มีใจความเป็นอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ก็มีนะคุณ".

"แบบที่เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้มีใจความต่างกัน และมีพยัญชนะก็
ต่างกัน เป็นไฉน เล่าคุณ คือ :-

"คุณ ภิกษุในพระศาสนานี้ ใช้จิตที่ไปด้วยกันกับความรัก แผ่
ไปตลอดทิศหนึ่งแล้วแลอยู่, ทิศที่สองก็อย่างนั้น, ทิศที่สามก็อย่างนั้น, ทิศที่
สี่ก็อย่างนั้น. เธอใช้จิตที่ประกอบด้วยความรัก อันกว้างขวาง ยิ่งใหญ่
หาขอบเขตไม่ได้ ไม่มีแวว ไม่มีความคิดแก้แค้น แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้อง
ล่าง เบื้องขวาง ทุกหนทุกแห่ง ทั่วโลกทั้งหมด อย่างหมดสิ้นด้วยประการฉะนี้

แล้วแลอยู่. เธอใช้จิตที่ประกอบด้วยความสงสาร...ที่ประกอบด้วยความรู้
สึกพลอยยินดีด้วย. . . ที่ประกอบด้วยความรู้สึกวางเฉย แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง
แล้วแลอยู่. ทิศที่สอง ก็อย่างนั้น, ทิศที่สามก็อย่างนั้น, ทิศที่สี่ก็อย่างนั้น.
เธอใช้จิตที่ประกอบด้วยความรู้สึกเฉยๆ อันกว้างขวางยิ่งใหญ่ ไร้ขอบ
เขต ไม่มีเวร ไม่มีความคิดแก้แค้น แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง
ทุกแห่งหน จนหมดสิ้นทั่วทั้งโลก ดังที่ว่ามานี้แล้วแลอยู่. นี้คุณ เรียกว่าเจโต-
วิมุตติที่ไม่จำกัดขอบเขต.
"ก็เจโตวิมุตติที่เกิดจากบริกรรมว่า อะไรน้อยหนึ่งไม่มีเป็นไฉน
เล่าคุณ คือ :-
"คุณ ภิกษุในพระคาสนานี้ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดย
ประการทั้งปวงได้เป็นอย่างดีจึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยบริกรรม
ว่า "น้อยหนึ่งก็ไม่มี" แล้วแลอยู่. คุณ นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เกิดจาก
บริกรรมว่าอะไรน้อยหนึ่งก็ไม่มี.
"ก็เจโตวิมุตติที่มีแต่ความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ เป็นไฉน เล่า
คุณ คือ :-
"คุณ ภิกษุในพระศาสนานี้ อยู่ในป่า อยู่ที่โคนไม้หรืออยู่ที่เรือน
ว่าง มาพิจารณาอย่างนี้ว่า นี้เป็นของว่างจากตนหรือจากของตน".
คุณ นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติชนิดที่มีแต่ความว่างเปล่าเป็นอารมณ์.
"สำหรับเจโตวิมุตติที่ไม่มีอะไรเป็นนิมิตเป็นไฉน เล่าคุณ คือ :-
"คุณ ภิกษุในพระศาสนานี้ เพราะเลิกสนใจนิมิตทุกอย่าง จึงเข้าถึง
เจโตสมาธิ (ความตั้งมั่นของจิตใจ) ที่ไม่มีอะไรเป็นนิมิต แล้วแลอยู่. คุณ
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่ไม่มีอะไรเป็นนิมิต.

"นี้แล ณ แบบที่เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้มีใจความต่างกัน และ
มีพยัญชนะต่างกัน.

"คุณ แบบที่เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้มีใจความเป็นอย่างเดียวกัน
พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกันเป็นไฉน คือ :-

"ความรักเทียวคุณ เป็นเครื่องทำประมาณ (ขอบเขตจำกัด), ความ
คิดประทุษร้าย เป็นเครื่องทำประมาณ, ความหลง เป็นเครื่องทำประมาณ,
ความรัก โกรธ หลงเหล่านั้น อักภิกษุผู้สิ้นกิเลสเครื่องหมักดองได้ละแล้ว
ถอนรากได้แล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. คุณ เจโตวิมุตติทั้ง
หลาย ที่หาขอบเขตไม่ได้ อันไม่กำเริบ มีประมาณเพียงใดแล, ท่าน
ย่อมกล่าวเจโตวิมุตติว่าเป็นเลิศกว่าเจโตวิมุตติเหล่านั้น เพราะเจโต
วิมุตติที่ไม่กำเริบนั้นแล เป็นธรรมชาติที่ว่างจากความรัก, ว่างจากความโกรธ
(โทสะ) ว่างจากความหลง. ความรักเทียวคุณ เป็นความกังวล, ความโกรธ
(โทสะ)เป็นความกังวล, ความหลงเป็นความกังวล, ความรัก โกรธ หลงเหล่า
นั้น อันภิกษุผู้กิเลสเครื่องหมักดอง ละได้แล้ว ถอนรากได้แล้ว ทำให้
เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ทำให้ไม่มีไม่เป็นแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น
ธรรมดา. คุณ เจโตวิมุตติทั้งหลาย ที่เกิดจากบริกรรมว่าอะไรน้อยหนึ่งไม่
มี (ไม่มีความกังวล) อันไม่กำเริบ มีประมาณเพียงใดแล, เจโตวิมุตติอันท่าน
ย่อมกล่าวว่าเป็นยอดแห่งเจโตวิมุตติเหล่านั้น. เพราะเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ
นั้น เป็นธรรมชาติที่ว่างจากความรัก, ว่างจากความโกรธ (โทสะ), ว่างจาก
ความหลง ความรักเทียวคุณเป็นเครื่องทำนิมิต, ความโกรธ (โทสะ)
เป็นเครื่องทำนิมิต, ความหลงเป็นเครื่องทำนิมิต, ความรัก โกรธ
หลง เหล่านั้นอันภิกษุผู้สิ้นกิเลสเครื่องหมักดอง ละได้แล้ว ถอนราก
ได้แล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ทำให้ไม่มีไม่เป็นแล้ว มีความไม่เกิด

ขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. ณ เจโตวิมุตติทั้งหลายชนิดที่ไม่มีเครื่องหมาย
อันไม่กำเริบมีประมาณเพียงใดแล ท่านกล่าวเจโตวิมุตติว่าเป็นยอดแห่ง
เจโตวิมุตติเหล่านั้น. เพราะเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบนั้นเป็นธรรมชาติที่ว่างจาก
ความรัก, ว่างจากความโกรธ (โทสะ), ว่างจากความหลง. นี้แล คุณ แบบที่
เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้ ก็มีใจความอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้น ที่แตก
ต่างออกไป.
ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวธรรมบรรยายนี้จบแล้ว. ท่านพระมหา-
โกฏฐิกะก็เพลิดเพลินกับภาษิตของท่านพระสารีบุตรเป็นอย่างยิ่ง ด้วยประ
การฉะนี้.

จบมหาเวทัลลสูตร ที่ 7

อรรถกถามหาเวทัลลสูตร



มหาเวทัลลสูตรขึ้นต้นว่า "ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้."
ในคำเหล่านั้น คำว่า "ผู้มีอายุ" นี้เป็นคำแสดงความเคารพและความ
ยำเกรง. คำว่า "มหาโกฏฐิกะ" เป็นชื่อของพระเถระนั้น. คำว่า "ออกจากที่
เร้น" คือออกจากผลสมาบัติ. ในคำว่า "มีปัญญาทราม" นี้ คือ ขึ้นชื่อว่า
ปัญญาที่ชั่วทราม ไม่หมายความว่า ไม่มีปัญญา คือไร้ปัญญา. คำว่า
"ด้วยเหตุมีประมาณเพียงไรหนอแล" คือคำถามกำหนดเหตุ. หมายความว่า
ที่เรียกอย่างนั้น ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล. ก็แลชื่อว่าการถามนี้ มี 5 อย่าง คือ

1. ถามเพื่อส่องสิ่งที่ยังไม่เห็น
2. ถามเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้ว.
3. ถามเพื่อตัดความสงสัย.
4. ถามเพื่อซ้อมความเข้าใจ (ให้ยอมรับรู้, ให้อนุมัติ).
5. ถามเพื่อต้องการแสดง (เสียเอง ถามเอง ตอบเอง).

ต่อไปนี้เป็นเหตุที่ทำให้การถามเหล่านั้น แตกต่างกันออกไป.

การถามเพื่อส่องสิ่งที่ยังไม่เห็นเป็นไฉน

โดยปกติ ผู้ที่ยังไม่เข้าใจ ยังไม่เห็น ยังไม่ชั่ง ยังไม่ไตร่ตรอง ยังไม่
แจ่มแจ้ง ยังไม่อบรมลักษณะ ก็ถามปัญหาเพื่อเข้าใจ เพื่อเห็น เพื่อชั่ง
(เทียบ) เพื่อไตร่ตรอง เพื่อแจ่มแจ้ง เพื่ออบรมลักษณะนั้น นี้คือการถามเพื่อ
ส่องถึงสิ่งที่ยังไม่เห็น.

การถามเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้วเป็นไฉน